โครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ของ การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์

ท่าอากาศยาน

สายการบินกาตาร์แอร์เวย์, มาเลเซียแอร์ไลน์ และเซินเจิ้นแอร์ไลน์ ที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

กัวลาลัมเปอร์มีท่าอากาศยาน 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ และท่าอากาศยาน Sultan Abdul Aziz Shah (ชื่อเดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติซูบัง) (ให้บริการเฉพาะเที่ยวบินเหมาลำเท่านั้น[11])

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุด และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในประเทศ[12] เชื่อมต่อกับนครโดยรถไฟฟ้าเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส และรถโดยสารประจำทาง

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ มีสถิติผู้สัญจร 35 ล้านคน ขนส่งสินค้า 1.2 ล้านตันต่อปี เป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นเป็นอันดับที่ 13 ของโลกในด้านผู้โดยสาร และอันดับที่ 30 ในด้านสินค้า[13] เป็นท่าอากาศยานเพียงไม่กี่แห่งในตะวันออกไกลที่มีเที่ยวบินไปยังทวีปอเมริกาใต้ โดยสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ มีจุดหมายปลายทางในอเมริกาใต้คือกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ดำเนินการโดยกลุ่มท่าอากาศยานมาเลเซีย เป็นฐานการบินหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก, แอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ

ท่าเรือ

ท่าเรือนอร์ทพอร์ต

ท่าเรือที่สำคัญที่สุดในประเทศมาเลเซีย คือ ท่าเรือพอร์ตกลัง ตั้งอยู่ในเขตกลัง รัฐเซอลาโงร์ เดิมมีชื่อว่า ท่าเรือสเวตเทนแฮม เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1893 ช่วงอาณานิคมอังกฤษ ต่อมาได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1901 และได้พัฒนาท่าเรือให้ดีขึ้นในแต่ละปี องค์การท่าเรือพอร์ตกลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 แบ่งท่าเรือ 3 เขต ได้แก่ บอร์ทพอยต์, เซาท์พอยต์ และเวสต์พอยต์ สถิติเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ท่าเรือเขตเวสต์พอยต์ได้ตู้คอนเทนเนอร์ 4-4.3 ล้านกล่อง ส่วนเขตอื่น ๆ เก็บได้ 7.12 ล้านกล่อง รวมน้ำหนัก 133.5 ล้านตัน[14] พอร์ตกลังฟรีโซน มีพื้นที่เก็บสินค้า 1,000 เอเคอร์ ทำให้ท่าเรือที่มีที่เก็บสินค้าเยอะเป็นอันดับที่ 13 ของโลก (สถิติปี ค.ศ. 2005)[15] อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเรื่อยมา[16]

นอกจากจะเป็นท่าเรือสินค้าแล้ว ยังเป็นที่จอดเรือสำราญ ซูเปอร์สตาร์เวอร์โก และ ควีนแมรี่ทู อีกด้วย[17]

การเดินทางไปยังพอร์ตกลัง สามารถทำได้โดยการนั่งรถไฟของ เคเรตาปิทะนาห์มลายู หรือใช้ทางหลวงสหพันธรัฐ กับทางพิเศษชาห์อลัม

ใกล้เคียง

การขนส่งในประเทศไทย การขนส่งระบบรางในประเทศไทย การขนส่งในประเทศเกาหลีใต้ การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ การขนส่งระบบรางในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย การขนส่งในประเทศฮังการี การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง การขนส่งระบบรางในประเทศญี่ปุ่น การขนส่งระบบรางในประเทศกัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: การขนส่งในกัวลาลัมเปอร์ http://www.aci-asiapac.aero/cda/aci_common/display... http://www.asianewsdesk.com/2007/11/27/subang-only... http://www.tunnels.mottmac.com/projects/?mode=type... http://www.pkfz.com/pkfz_profile.php http://www.btimes.com.my/Current_News/BTIMES/Frida... http://www.btimes.com.my/Current_News/BTIMES/Monda... http://www.ktmb.com.my/images/default/2006/statist... http://www.ktmb.com.my/images/default/2006/statist... http://www.malaysiaairports.com.my/view.php?ch=22&... http://www.nst.com.my/Current_News/Streets/Wednesd...